1. ที่มา :

การประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ประเทศไทย หรือ Thailand Bike and Walk Forum
จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี 2556 เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการที่เกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
มิเป็นเพียงเวทีนำเสนอผลงานวิจัย วิชาการเท่านั้น หากแต่เป็นเวทีนำเสนอผลการทำงานระดับชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งเป็นชุดประสบการณ์การการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่
เรามุ่งหวังให้เป็นเวทีที่ “งานวิจัยสามารถแปลงกาย และนำไปใช้ได้จริง” เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง หน่วยงานที่กำหนดนโยบาย กับนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานจริงในระดับพื้นที่ หรือการนำเสนอกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษต่างประเทศ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน เป็นต้น
นับจากครั้งที่ 1-5 เวทีนี้นำได้นำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการไปแล้วกว่า 100 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 200 คน มีหน่วยงานและภาคีที่เห็นความสำคัญ แสดงความร่วมมือเป็นองค์กรร่วมในการจัดงานมากกว่า 15 องค์กร

เพราะเราเชื่อว่า “องค์ความรู้สามารถเป็นมติหรือข้อสรุปที่นำไปใช้สร้างชุมชนน่าอยู่ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้”

2. ประเด็นนำเสนอ:

การพัฒนา ออกแบบ วางแผนเส้นทางหรือการออกแบบจัดการระบบขนส่งสาธารณะให้เอื้อต่อการเป็นชุมชน-เมือง ที่สามารถเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวันได้ ที่สอดคล้องในทุกมิติ
1. โครงสร้างพื้นฐานและกายภาพของเมือง-ชุมชน (Infrastructure and Physical) ที่เอื้อต่อการเดินและการใช้จักยานในชีวิตประจำวันเพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ
2. ระบบขนส่งและการเชื่อมต่อ (Network) การพัฒนา ออกแบบ วางแผนเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับการเดินทางในทุกรูปแบบ
3. ความคุ้มค่าทางสังคม (SROI) ต่อการลงทุนเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางของระบบขนส่งสาธารณะเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
4. การจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนด้วยจักรยาน (Tourism) ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ เข้าถึงชุมชนพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวโดยระบบขนส่งสาธารณะ
5. นโยบายและกฎหมาย (Policy and Law) ที่ส่งเสริม สนับสนุนให้คนในเมือง-ชุมชน เห็นความสำคัญและหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
6. พฤติกรรมหรือทัศนคติ (Behavior) รวมถึงเหตุผล แรงจูงใจของคนไทยที่มีต่อระบบขนส่งสาธารณะ
7. ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Shares